พระนครศรีอยุธยา


      ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา

      417 ปีแห่งการเป็นราชธานีเก่าแก่ของสยามประเทศ ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททองและราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 33 พระองค์ โดยมีปฐมกษัตริย์คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระนครศรีอยุธยาจึงนับเป็นราชธานีที่มีอายุยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ตลอดระยะเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งราชอาณาจักรไทย มิได้เป็นเพียงช่วงแห่งความเจริญสูงสุดของชนชาติไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างสรรค์อารยธรรมของหมู่มวลมนุษยชาติซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะถูกทำลายเสียหายจากสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านหรือจากการบุกรุกขุดค้นของพวกเรากันเอง แต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ยังมีร่องรอยหลักฐานซึ่งแสดงอัจฉริยภาพและความสามารถอันยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษแห่งราชอาณาจักรผู้อุทิศตนสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม และความมั่งคั่งไว้ให้แก่ผืนแผ่นดินไทย หรือแม้แต่ชาวโลกทั้งมวล จึงเป็นที่น่ายินดีว่าองค์การ ยูเนสโก้ โดยคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเป็นพื้นที่ที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 ไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ณ กรุงคาร์เธจประเทศตูนีเซียพร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย/อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย/อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรโดยจะมีผลให้ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาที่ประเทศต่างๆได้ทำร่วมกัน จึงสมควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ไปศึกษาเยี่ยมชมเมืองหลวงเก่าของเราแห่งนี้สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นโบราณสถาน ได้แก่ วัด และพระราชวังต่างๆ พระราชวังในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีอยู่ 3 แห่ง คือ พระราชวังหลวง วังจันทรเกษมหรือวังหน้า และวังหลัง นอกจากนี้ยังมีวังและตำหนักนอกอำเภอพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นที่สำหรับเสด็จประพาส ได้แก่ พระราชวังบางปะอิน ในเขตอำเภอบางปะอิน และตำหนักนครหลวง ในเขตอำเภอนครหลวง

      ภูมิประเทศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ แม่น้ำป่าสักไหลผ่านทางทิศตะวันออก และแม่น้ำลพบุรี(ปัจจุบันเป็นคลองเมือง)ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือแม่น้ำสามสายนี้ไหลมาบรรจบกันโอบล้อมรอบพื้นที่ของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ตัวเมืองจึงมีลักษณะเป็นเกาะ เราจะเห็นบ้านเรือนปลูกเรียงรายหนาแน่นตามสองข้างฝั่งแม่น้ำแสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำมายาวนานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 76 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 2,556 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอนครหลวง อำเภอภาชี อำเภอบ้านแพรก อำเภอบางซ้าย อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางบาล อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน อำเภอเสนา อำเภออุทัย อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอท่าเรือ และอำเภอวังน้อยอาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี อ่างทอง และสระบุรีทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดปทุมธานี และนนทบุรีทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสระบุรีทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี

ทิปส์ท่องเที่ยว
  • หากท่านเดินทางมายังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว ยังไม่มีแผนการเดินทางไปที่ไหน แนะนำให้ท่านแวะไปเยี่ยมชมศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา (ศาลากลางหลังเก่า)ด้านบนมีหอนิทรรศการประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจัดแสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนแหล่งช้อปของกินถูกปากของฝากถูกใจ เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวันเว้นวันจันทร์-วันอังคาร ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.
  • วัดที่ไม่โด่งดังมาก แต่มีโบราณวัตถุสำคัญและเต็มไปด้วยเรื่องราวความเป็นมา มีอยู่หลายวัด เช่น วัดเชิงท่า อยู่ห่างจากวัดหน้าพระเมรุซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องไปไม่ไกล มีศาลาการเปรียญอยู่ริมน้ำ ภายในศาลามีพระรูปพระภิกษุสิน (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) บานหน้าต่างและมู่ลี่ไม้ซึ่งมีภาพวาดศิลปะจีน วัดแม่นางปลื้ม เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อขาว พุทธลักษณะงดงามแบบอยุธยาดั้งเดิม เป็นต้น
  • นอกเกาะเมืองมีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ คือเจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งด้านหน้ามีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงม้าศึกขนาดใหญ่ โดดเด่นเห็นได้ขณะรถแล่นผ่าน เป็นประติมากรรมที่งดงามมาก ควรไปเยือนช่วงบ่ายแก่ใกล้เย็น เพราะแสงมลังเมลืองจะสาดจับพระบรมราชานุสาวรีย์ ดูสวยจับใจ
  • มาถึงอยุธยาทั้งทีต้องแวะไปชิมก๋วยเตี๋ยวเรืออยุธยารสเด็ด หลังจากนั้นไปรับประทานกุ้งแม่น้ำเผาตัวโตๆ จากแม่น้ำเจ้าพระยาในร้านอาหารบรรยากาศริมน้ำ และแวะซื้อโรตีสายไหมเป็นของฝากกลับบ้าน
  • นักท่องเที่ยวสามารถเปลี่ยนบรรยากาศการเยี่ยมชมโบราณสถานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการนั่งรถรางล้อยาง พร้อมรับฟังการบรรยายเกร็ดความรู้ดีๆจากผู้บรรยายบนรถรางล้อยาง นักท่องเที่ยวจึงสามารถอิ่มเอมทั้งอาหารตาและอาหารสมอง สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์ศึกษาประวัตืศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โทร. 0 3524 5123-4

ไม่ควรพลาด
เจดีย์ศรีสุริโยทัย
      อยู่ในเกาะเมืองด้านทิศตะวันตก ติดกับสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 3 ถนนอู่ทอง พระเจดีย์แห่งนี้เป็นโบราณสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอนุสรณ์สถานของวีรสตรีไทยพระองค์แรก สมเด็จพระสุริโยทัยซึ่งสิ้นพระชนม์ในการทำสงครามยุทธหัตถีระห...
พระราชวังหลวงหรือพระราชวังโบราณ
ตั้งอยู่ติดกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ทางด้านทิศเหนือ สันนิษฐานว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่1(พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชวังตั้งแต่เมื่อครั้งประทับอยู่ที่เวียงเล็กเมื่อ พ.ศ. 1890
วัดใหญ่ชัยมงคล
      เดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไท ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก จากกรุงเทพฯเข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม(เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงสร้า...
วัดไชยวัฒนาราม
      ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 (พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2173 ได้ชื่อว่าเป็นโบราณสถานที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่ง ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัดนี้เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้...
วัดธรรมิกราช
      เป็นวัดสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อวัดมุขราช เมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งสร้างวัดพนัญเชิงนั้น พระราชโอรส คือ พระเจ้าธรรมิกราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นที่บริเวณเมืองเก่าชื่อเมืองสังขบุรี ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาได้ทรงบูรณะมาโดยตลอด ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม (พ.ศ.21...
วัดพนัญเชิงวรวิหาร
      ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดพนัญเชิงอยู่ทางขวามือ วัดพนัญเชิงเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย เป็นวั...
วัดพระราม
      อยู่นอกเขตพระราชวังไปทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร สมเด็จพระราเมศวรทรงสร้างขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง)พระราชบิดา วัดนี้มีบึงขนาดใหญ่อยู่หน้าวัด เมื่อมีการสร้างกรุงศรีอยุธยา คงจะมีการขุดเอาดินในหนองมาถมพื้นที่วังและว...
วัดพระศรีสรรเพชญ์
      ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับบริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้า...
วัดภูเขาทอง
      ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากพระราชวังหลวงไปประมาณ 2 กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับทางไปจังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข 309 กิโลเมตรที่ 26 จะมีป้ายบอกทางแยกซ้ายไปวัดนี้ วัดภูเขาทองนี้หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเป็นผู้สร้างเมื่อพ.ศ. 2112...
วัดมหาธาตุ
      ตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ทางทิศตะวันออกของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พงศาวดารบางฉบับกล่าวว่าวัดนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ต่อมาสมเด็จพระราเมศวรโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดเมื่อพ.ศ.1927 พระปรางค์วัดมหาธาตุถือเป็นปรางค์ที่สร้างใน...
Page 1 |  2 | 
ที่มาจาก:http://thai.tourismthailand.org/ข้อมูลจังหวัด/พระนครศรีอยุธยา
ผู้ชม
วันนี้ 55
เมื่อวาน 152
ทั้งหมด 262,423
ชมหน้าอื่นๆ
วันนี้ 55
เมื่อวาน 152
ทั้งหมด 289,224

www.welovemuangthai.com

หมายเหตุ: เว็บนี้สร้างขึ้นมาไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อการพาณิชย์ สร้างมาเพื่อเป็นข้อมูล สาระทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น 
ทีมงานได้นำข้อมูลและภาพประกอบมาจากอินเตอร์เน็ต


 
   ส่งรถมอเตอร์ไซค์   บริษัท รปภ   ผ้าขนหนูราคาโรงงาน   บริษัทรักษาความปลอดภัย   รับซื้อเครืองจักร  
เว็บสำเร็จรูป
×